วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

การจัดการตัวอักษร
คำสั่งในการกำหนดแบบตัวอักษร (Font Type)
คำสั่งในการกำหนดตัวอักษรนั้น เราใช้แท็ก <FONT> ซึ่งแท็กนี้สามารถที่จะกำหนดได้ตั้งแต่ แบบตัวอักษร (Font Face), ขนาดของตัวอักษร (Font Size) และสีของตัวอักษร (Font Color)
การกำหนดแบบตัวอักษร หรือที่เรียกว่า ฟอนต์ (Font) โดยปกติค่าเริ่มต้นของเวบบราวเซอร์จะกำหนดเป็นแบบ Time New Roman เพื่อความหลากหลายของรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 1 รูปแบบบนจอภาพของบราวเซอร์ แต่เราสามารถใช้คำสั่ง <FONT> ตามด้วย Attributes "FACE" เพื่อกำหนดรูปแบบการแสดงผลภาษาไทยให้กับตัวอักษรของเวบเพจของเราได้ ซึ่งการแสดงผลภาษาไทยนั้นมีฟอนต์ให้เลือกหลายแบบตัวอย่างเช่น AngsanaUPC, CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif เป็นต้น แต่สำหรับฟอนต์ที่เหมาะสมกับการแสดงผลภาษาไทยในเวบบราวเซอร์ คือ MS Sans Serif โดยมีรูปแบบดังนี้
<FONT Face = "ชื่อฟอนต์"> ... ข้อความ ... </FONT>
ถ้าต้องการระบุมากกว่า 1 ฟอนต์ ให้กำหนดรูปแบบดังนี้
<FONT Face = "ชื่อฟอนต์1",ชื่อฟอนต์2",...> ... ข้อความ ... </FONT>
ข้อดีของการกำหนดฟอนต์ไว้มากกว่า 1 ฟอนต์ ก็คือ เมื่อเวบบราวเซอร์หาฟอนต์ที่ 1 ไม่เจอก็จะหาฟอนต์ที่ 2 ต่อไปตามลำดับ
ตัวอย่าง font_face.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> Font Face </TITLE></HEAD>
<BODY>

<FONT Face="AngsanaUPC">
แบบตัวอักษรแบบ AngsanaUPC
</FONT>
<BR>

<FONT Face="Ms Sans Serif">
แบบตัวอักษรแบบ Ms Sans Serif
</FONT>
<BR>

<FONT Face="Comic Sans MS">
Font Style Comic Sans MS
</FONT>
<BR>

<FONT Face="Bookman Old Style">
Font Style Bookman Old Style
</FONT>
<BR>

</BOYD>
</HTML>
เราสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรในคำสั่ง <FONT> โดยใช้ Attributes "Size" ในภาษา HTML กำหนดขนาดของตัวอักษรได้ 7 ขนาด โดยใช้ตัวเลข 1-7 เป็นตัวกำหนด ค่าเริ่มต้นจะมีขนาดเป็น 3
<FONT Size = "ขนาด"> ... ข้อความ ... </FONT>
ตัวอย่าง font_size.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> Font Face </TITLE></HEAD>
<BODY>

<FONT Size="1">Font Size 1</FONT><BR>
<FONT Size="2">Font Size 2</FONT><BR>
<FONT Size="3">Font Size 3</FONT><BR>
<FONT Size="4">Font Size 4</FONT><BR>
<FONT Size="5">Font Size 5</FONT><BR>
<FONT Size="6">Font Size 6</FONT><BR>
<FONT Size="7">Font Size 7</FONT><BR>

</BOYD>
</HTML>
การกำหนดสีให้กับตัวอักษรเราใช้ Attributes "Color" ในการกำหนดสีของตัวอักษรทำได้ 2 วิธี
กำหนดจากชื่อของสีมาตรฐาน เป็นการกำหนดจากชื่อสีมาตรฐานโดยตรง เช่น Black, Red เป็นต้น
กำหนดจากรหัสเลขฐาน 16 จะใช้การอ้างอิงเลขฐาน 16 ในระบบของหมายเลขสี RGB (Red, Green, Blue) ซึ่งมีรูปแบบของรหัสสีเป็น #RRGGBB โดยใช้แทนรหัสด้วยเลขฐาน 16 ในช่วง 0, 1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F ตามลำดับ
โดยมีรูปแบบดังนี้
<FONT Color = "ชื่อสีมาตรฐาน"> ... ข้อความ ... </FONT>
<FONT Color = "#RRGGBB"> ... ข้อความ ... </FONT>
ตัวอย่าง font_color.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> Font Color</TITLE></HEAD>
<BODY>

<FONT color="Blue">This is Blue Color</FONT><BR>
<FONT color="Green">This is Green Color</FONT><BR>
<FONT color="#FFA500">This is #FFA500</FONT><BR>

</BOYD>
</HTML>

การกำหนดสีพื้นหลัง
การกำหนดสีพื้นหลังของเวบเพจเราสามารถทำได้จากแท็ก <BODY> โดยกำหนดจาก Attributes "BGColor" โดยมีรูปแบบดังนี้
กำหนดสีพื้นหลังจากชื่อสีมาตรฐาน
<BODY BGColor = "สีพื้นหลัง">....
</BODY>
กำหนดสีพื้นหลังจากเลขฐาน 16
<BODY BGColor = "#RRGGBB">
....
</BODY>
ตัวอย่าง bgcolor.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> Heading </TITLE></HEAD>
<!-- BODY BGColor="Yellow" -->
<BODY BGColor="#FFFF00">
คอลัมน์สาระไอทีสำหรับชาวเรือ <BR>
เป็นคอลัมน์ที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมใช้งานต่างๆ
</BOYD>
</HTML>

การกำหนดสีให้กับตัวอักษรทั้งเอกสาร
การกำหนดสีให้กับตัวอักษรทั้งเวบเพจเราสามารถทำได้จากแท็ก <BODY> โดยกำหนดจาก Attributes "Text" โดยมีรูปแบบดังนี้
กำหนดสีพื้นหลังจากชื่อสีมาตรฐาน
<BODY Text = "สีพื้นหลัง">
....
</BODY>

กำหนดสีพื้นหลังจากเลขฐาน 16
<BODY Text = "#RRGGBB">
....
</BODY>
ตัวอย่าง body_text.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> Heading </TITLE></HEAD>
<!-- BODY Text="Red" -->
<BODY Text="#FF0000">
คอลัมน์สาระไอทีสำหรับชาวเรือ <BR>
เป็นคอลัมน์ที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมใช้งานต่างๆ
</BOYD>
</HTML>


 การกำหนดเครื่องหมายหัวข้อและเลขลำดับ
คำสั่งในการแสดงรายการแบบไม่มีลำดับ (Unorder List)
Unorder List หรือ Bullet List นั้น ในภาษา HTML ได้กำหนดคำสั่งในการอำนวยความสะดวกในการสร้าง Bullet ขึ้นไว้ด้วย เพื่อแสดงเครื่องหมายหน้าหัวข้อเรื่องหรือลำดับของรายการต่าง ๆ โดยไม่มีการเรียงลำดับ โดยมีรูปแบบดังนี้
<UL>
<LI> ... ข้อความ ...
<LI> ... ข้อความ ...
<LI> ... ข้อความ ...
... ...........
</UL>
ตัวอย่าง bullet1.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> List Item </TITLE></HEAD>
<BODY>
<UL>Viewing the Navigator Window
<LI>Window and frames
<LI>Colors and underlining
<LI>Company logo
<LI>Progress bar
<LI>Status message area
</UL>
</BOYD>
</HTML>
เรายังสามารถระบุชนิดของเครื่องหมายได้ด้วย Attributes "Type" ในแท็ก <UL> หรือ <LI> โดยมีรูปแบบดังนี้
<UL Type = "ชนิดของเครื่องหมาย">
<LI Type = "ชนิดของเครื่องหมาย">
ชนิดของเครื่องหมายมีด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
ชนิดของเครื่องหมาย สัญญาลักษณ์ที่ปรากฏ
ชนิดของเครื่องหมาย
สัญญาลักษณ์ที่ปรากฏ
Disc
Circle
Square
ตัวอย่าง bullet2.html
<HTML>
<HEAD><TITLE> List Item </TITLE></HEAD>
<BODY>

<UL Type="Circle">คอลัมน์สาระไอทีสำหรับชาวเรือ
<LI>บทความเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
<UL>
<LI Type="Disc">(IT001)
</UL>
<LI>บทความเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
<UL>
<LI Type="Disc">(IT002)
</UL>
<LI>บทความเกี่ยวกับโครงสร้าง Software
<UL>
<LI Type="Disc">(IT003)
</UL>
</UL>

</BOYD>
</HTML>
คำสั่งในการแสดงรายการแบบเป็นลำดับ (Order List)
เราสามารถแสดงรายการแบบเป็นลำดับ คือ Order List หรือ Numer List ได้ โดยการใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรเป็นตัวกำหนดแสดงลำดับ โดยมีรูปแบบดังนี้
<OL Type = "ชนิดของตัวเลข" Start = "ตัวเลขเริ่มต้น">
<LI> ... ข้อความ ...
<LI> ... ข้อความ ...
<LI> ... ข้อความ ...
... ...........
</OL>
ชนิดของ Type กำหนดเลขลำดับได้ดังนี้
ชนิดของ Type สิ่งที่ปรากฏ
ชนิดของ Type
สิ่งที่ปรากฏ
A
แสดงตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (Caplital letters)
a
แสดงตัวอักษรพิมพ์เล็ก (Small letters)
I
แสดงตัวเลขโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ (Large Roman numerals)
i
แสดงตัวเลขโรมันตัวพิมพ์เล็ก (Small Roman numerals)
1
แสดงตัวเลขอารบิก (Small Roman numerals)
* เป็นค่า deflaut *
ตัวอย่าง order_list.html


<HTML>
<HEAD><TITLE> Order List </TITLE></HEAD>
<BODY>

<OL Type="I">My computer in my dream
<LI>Inter XENON Pentium 4 processor 4.0 GHz
<LI>RDRAM 4 GB
<LI>Harddisk 120 GB
<LI>11X DVD-RW Drive
<LI>Speakers (Labtec) 160 Watt
<LI>Asus GeForce4 128 MB
<LI>Creative Sound Baster 5
<LI>Monitor Sony Wega 20"
</OL>

</BOYD>
</HTML>



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น